สมถภาวนา
  • 7 กรกฎาคม 2020 at 17:23
  • 1184
  • 0

สมถภาวนา 
จิดใจมนุษย์ทำหน้าที่ 4 อย่าง
1.รับรู้อารมณ์ต่างๆ โดยผ่านทวารทั้ง 6 ( ตา หู จมูก ฯลฯ )
2.รู้จักคุณลักษณะของอารมณ์เหล่านั้นได้
3.ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดจากการรู้จักนั้น
4.สังขาร (การคิดปรุงแต่ง) ซึ่งมีเวทนาเป็นฐานที่ตั้ง
กระบวนการทางจิดนี้เกิดขึ้นทุกๆ ครั้งที่มีการกระทบระหว่างทวารทั้ง 6 อย่างใด อย่างหนึ่งกับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
สมถภาวนาก็คือการตรึงการรับรู้ไว้กับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
พยายามระงับหน้าที่อีก 3 อย่างของจิตไว้ สัญญา เวทนา สังขาร
การรับรู้แบบเจาะจงถูกจำกัดไว้ในแดนของจิต (มโนทวาร)เท่านั้น
ให้เลือกเอาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับเพ่ง อาจจะเป็นการ บริกรรม พุทโธ หรือ กำหนด ลมหายใจเข้าออก
นั่งในท่าที่สบาย หลับตาแล้วเพ่งความใฝ่ใจไปรังอารมณ์ที่เลือกแล้ว เช่น พุทโธ
บริกรรมคำว่า พุทโธ อย่างเงียบๆ ในใจพยายามระงับสัญญา เวทนา สังขารซึ่งอาจโผล่ขึ้นมาเป็นครั้งคราว
ปฏิบัติเช่นนั้นต่อไปเป็นเวลา 5 นาที ในการนั่งครั้งแรก แล้วค่อยๆ ขยายเวลาออกไปในการนั่งคราวต่อไปทุกครั้ง
ในการนั่ง 2-3 ครั้งแรก ผู้นั่งสมาธิจะพบว่า เป็นการยากมากที่จะตรึงการรับรู้เฉพาะไว้กับอารมณ์เดียวแม้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ
เมื่อผู้ปฏิบัติเผลอจิตจะหนีไปเล่นกับมโนภาพต่างๆ ตามปกตินิสัยของมัน
เมื่อรู้สึกตัวให้กลับมาสุ่อารมณ์สมาธิเดิม และดำเนินการปฏิบัติต่อไป
เมื่อวันเวลาผ่านไป จิตจะเริ่มสงบนิ่งและมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้มากขึ้น
เมื่อบรรลุถึงสมาธิชั้นสูง มลภาวะทางจิต 5 อย่างคือ กามฉันทะพยาบาท ถินมิทธ อุทธัจจกุกกุจจะและวิจิกิจฉา จะถูกกำจัด
เฉพาะจิตเดิมที่สงบนิ่งอย่างสมบูรณ์ใสสะอาด และปิติสุขเท่านั้นจะยังเหลืออยู่
พลังทางจิตที่แฝงอยู่เช่นการรับรู้เหนือประสาทสัมผัสอาจแสดงตัวออกมาในบางกรณี
นั้นคือเป้าหมายแห่งสมถภาวนา